วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ข้อ 4 สร้อยประการัง

สร้อยปะการังวัสดุ ซากปะการังวิธีทำนำปะการังที่เก็บได้จากท้องทะเลมาทำความสะอาด แล้วย้อมสีต่างๆ เช่น สีดำ สีขาว สีเหลือง สีเขียว สีส้ม สีม่วง กลึงเป็นรูปทรงต่างๆส่วนใหญ่แล้วนิยมทำเป็นทรงกลมและสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นเจาะรูตรงกลางโดยใช้สว่านขนาดเล็ก เมื่อเจาะรูเรียบร้อยแล้วนำมาร้อยด้วยสายเอ็นการร้อยนั้นสลับลวดลายสีต่างๆเพื่อความสวยงามหากร้อยเป็นเส้นสั้นๆหรือทำสร้อยมือต้องติดตะขอที่ปลายทั้งสองข้างการประยุกต์ใช้ปะการัง นำมาตกแต่งให้มีลักษณะรูปทรงที่สวยงามทำเป็นสร้อยมือ หรือสร้อยคอ เป็นเครื่องประดับที่มีความสวยงามมากชิ้นหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสุสานหอย บ้านแหลมโพธิ์ จังหวัดกระบี่ จะนิยมซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก

ข้อ 3 เรือกอและ

เรือกอและ
ลักษณะและวิธีการใช้เรือกอและเป็นเรือประมงที่ใช้ในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อด้วยไม้กระดานโดยทำให้ส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือให้ดูสวยงาม นิยมทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาดเป็นลายไทยหรือลายอินโดนีเซีย ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับลำเรือ เรือกอและมี ๒ แบบคือ แบบหัวสั้นและแบบหัวยาว ขนาดของเรือแบ่งเป็น ๔ ขนาด โดยยึดความยาวของลำเรือเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง คือ ขนาดใหญ่ยาว ๒๕ ศอก ขนาดกลางยาว ๒๒ ศอก ขนาดเล็กยาว ๒๐ ศอก และขนาดเล็กมากเรียกว่า "ลูกเรือกอและ" ยาว ๖ ศอกโดยประมาณ และด้านนอกซึ่งค่อนขึ้นไปทางขอบเรือ ทำเป็นขอบนูนออกมาข้างนอก ลักษณะเป็นกันชนของเรือยาวตลอดลำเรือเรียกว่า "ปาแปทูวอ" ที่ตอนล่างของปาแปทูวอทำรอยแซะเนื้อไม้ด้วยกบให้เป็นแนวยาวตลอดลำเรือเรียกว่า "กอมา" เรือทั้งลำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ลูแว" ส่วนท้ายเรียกว่า "บูเระแต" ถ้าแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ปาลอ" ส่วนกลาง (ลำเรือ) เรียกว่า "ตือเราะ" ส่วนท้ายเรียกว่า "ปูงง"
ประโยชน์เรือกอและส่วนใหญ่ใช้ในการประมง โดยนำออกไปทำการประมงในทะเลและนิยมทำเป็นพวก ๆ พวกละ ๕-๖ ลำ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับแข่งขันโดยใช้ฝีพายหรือใช้ใบก็ได้ทุกครั้งที่จะออกเรือก่อนขึ้นเรือชาวประมงจะให้ความเคารพเรือกอและของตนโดยการถอดรองเท้าทุกครั้ง และเมื่อเรือจอดอยู่บนฝั่งก็ห้ามผ่านใกล้ ๆ หรือเล่นบริเวณหัวเรือ ไม่พูดจาเชิงอวดดี หรือพูดในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล เพราะเชื่อว่ามีพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ให้ความคุ้มครองเรือสิงสถิตอยู่ที่หัวเรือบริเวณ "จาปิ้ง" นับได้ว่าเรือกอและเป็นเรือในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งใช้ในการประมงทางทะเลของชาวประมงมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ นับว่าเป็นเรือที่แปลกตาและหาดูได้ยากในจังหวัดอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ข้อ 2 ยาสมุนไพรซาไก

ยาสมุนไพรซาไก
ซาไก
เป็นชนชาวป่าเผ่าหนึ่ง อาศัยอยู่ถิ่นทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดพัทลุง สตูล ยะลา นราธิวาส และในเกาะสุมาตรา มาเลเซียแถบรัฐปาหังและเคดาห์บางถิ่นก็เรียกว่าพวก"เงาะ"มีชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆแบบชนดั้งเดิมเมื่อเจ็บป่วยก็ไม่นิยมรักษาในโรงพยาบาล ถึงแม้จะมีคนพาเข้ารักษาก็ตามเขาจะรักษากับหมอประจำเผ่าของเขา ซึ่งมี๒คน พวกเขาให้ความนับถือ คือ หัวหน้าเผ่า รองลงมาก็คือหมอวิธีการชาวซาไกมีความรู้ความชำนาญในการใช้ยาสมุนไพรมาก อาทิเช่น ยาสมุนไพรของชาวซาไกนั้น นับได้ว่าเขาเป็นเจ้าแห่งสมุนไพรนานาชนิดทีเดียว พวกเขามีความรู้ความชำนาญในเรื่องยาสมุนไพร อาทิ เช่นยาคุมกำเนิด ภาษาซาไกเรียกว่า "อัมม์"เป็นรากไม้แข็งๆให้ผู้หญิงรับประทานกับหมากหรือแทะรับประทานเฉยๆก็ได้มีสรรพคุณในทางคุมกำเนิดถ้าต้องการมีลูกเมื่อใดก็หยุดรับประทานยาให้มีลูก เป็นรากไม้แข็ง ๆ ให้ผู้หญิงกินกับหมากหรือแทะรับประทานก็ได้ มี ๒ ขนาน คือ ขนานที่หนึ่งเรียกยา "มักม็อก" ขนานที่สองเรียก "ยังอ็อน"ยาเสริมพลังเพศ เรียกชื่อว่า "ตาง็อต" มีลักษณะเป็นหัวคล้ายหัวเผือก เปลือกสีขาว เนื้อสีขาว มีรสมันใช้แทะรับประทานหรือดองสุรา จะทำให้พลังเพศแข็งแกร่งกระชุ่มกระชวยดีนักยาเสน่ห์ เป็นน้ำมันเสน่ห์ของซาไก เป็นที่เลื่องลือกันว่ามีคุณภาพดีทำจากน้ำมันมะพร้าวเสกคาถาวิธีใช้ให้เอานิ้วแตะน้ำมันแล้วเอาไปแตะข้างหลังของคนที่เรารักให้ตรงหัวใจภายใน๓วัน๗วันคนที่ถูกแตะจะต้องคลุ้มคลั่งวิ่งมาหานอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรของชาวซาไกมีอีกมากมายหลายขนาน เช่น ยาแก้เมื่อย ยาแก้เจ็บเส้น เป็นต้นประโยชน์ซาไกเป็นชาวป่าที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งสมุนไพร เนื่องจากมีความชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องเครื่องยาสมุนไพร ซาไกจะใช้สมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และยังแพร่หลายไปยังชุมชนละแวกนั้น ๆ ด้วย ชาวซาไกจะเรียกชื่อสมุนไพรตามคุณภาพที่รักษา เช่น ยาไข่เหล็ก ผู้ชายแทะกินจะทำให้กระชุ่มกระชวยมีสมรรถภาพทางเพศได้ ยาคุมกำเนิด

ข้อ 1 การปลูกพืชในกระบอกไม้ไผ่

การปลูกพืชในกระบอกไม้ไผ่
บุคคล ชาวสวนในจังหวัดตรังองค์ความรู้วิธีนี้เหมาะกับเพาะเมล็ดพืชยืนต้นบางชนิดหรือใช้กับต้นกล้าพืชทำได้โดยการเตรียมกระบอกไม้ไผ่ที่ไม่มีข้อและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว และยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว นำกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ไปปักลงในแปลงเพาะให้ลึกพอสมควร แล้วหยอดเมล็ดพืชลงไป ปล่อยให้เมล็ดงอกในกระบอก เมื่อต้นกล้าแข็งแรงดีแล้ว กระบอกไม้ไผ่ก็จะผุพังไปเอง ข้อควรระวังสำหรับการเพาะกล้าโดยวิธีนี้คือถ้าฝนตกชุกอาจมีน้ำขังอยู่ในกระบอกทำให้เมล็ด ต้นกล้าเน่าได้ประโยชน์๑. กระบอกไม้ไผ่จะเป็นที่กำบังไม่ให้สัตว์มากัดกินต้นกล้าที่กำลังงอกได้ ทำให้การงอกมีประสิทธิภาพดีขึ้น๒. เป็นการป้องกันแมลงหรือศัตรูพืชโดยชีววิธี

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 ข้อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ภูมิปัญญาฯประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนภูมิปัญญาอีกประเภท คือ ภูมิปัญญาฯประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนา พื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตรกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน เป็นต้น

ข้อ 5 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตพื้นที่ภาคใต้ ทรงพบว่าพื้นที่จำนวนมากมีสภาพเป็นพรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวและมีคุณภาพต่ำไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๔ เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาดินอินทรีย์และดินที่มีปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่พรุ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทาด้านการเกษตรรวมทั้งแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จให้พื้นที่อื่นๆ

ข้อ 4 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากที่สุดของประเทศ โดยมีพื้นที่ถึง 106.4 ล้านไร่ หรือ 170,218 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.1 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งประสบกับปัญหาหลักๆ 3 ประการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับดิน เนื่องจากความสมบูรร์ของทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ แร่ธาตุต่างๆ ดินมีคุณภาพต่ำไม่สามารถอุ้มน้ำได้และมีความเค็ม ปัญหาด้านแหล่งน้ำและป่าไม้ แหล่งน้ำธรรมชาติมีไม่เพียงพอ ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น ส่งผลต่อการเพาะปลูกพืช มีการแผ้วถางป่าเพื่อการประกอบอาชีพจนทำให้แหล่งต้นน้ำลำธารและระบบนิเวศวิทยาถูกทำลาย ปัญหาด้านวิทยากร นอกจากปัญหาปัจจัยการผลิตการเกษตรข้างต้นที่ไม่พร้อมแล้ว ผลจากการขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเทคนิควิชาการเกษตรที่ถูกต้อง การปรับปรุงบำรุงรักษาคุณภาพของปัจจัยการผลิตอย่างมีหลักวิชา เช่น เรื่องป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การแปรรูปผลผลิตและเรื่องการตลาด

จากสภาพภูมิประเทศ และทรัพยากร ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่น จึงมีการศึกษาถึงปัญหาสภาพท้องถิ่น หรือวิถีชีวิตของราษฎรเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคอีสาน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นที่ตัวแทนของภาคอีสานทั้งหมด ด้วยพื้นที่นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวงจรทางชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไปของภาคอีสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เพื่อเป็นแบบจำลองของภาคอีสานและเป็นพื้นที่ส่วนย่อที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาให้ภูมิภาคนี้เกิดความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ข้อ 3 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้มกระเบน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๔ โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี "ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี" และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าว เป็นทุนริเริ่มดำเนินการ
ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า "ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียว กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล" จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสม จึงกำหนดพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศูนย์ศึกษาดังกล่าวเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษา สาธิตและการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล โดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลากหลายของแต่ละหน่วยงาน เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และยั่งยืนตลอดไป และเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๑ ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนาและบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป ณ ศาลาดุสิดาลัย สาระโดยสรุป คุ้งกระเบนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับชายทะเล ต้นไม้ต่าง ๆ ชายทะเล และปลา การประมง

ข้อ 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย

ขประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง

แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง

การป้องกันไฟป่าแบบ "ระบบป่าเปียก" ต่อมาได้มีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อการปรับบำรุงดิน เพราะหญ้าแฝกเปรียบเสมือน กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าสามารถดักตะกอนดินทำให้เกิดหน้าดินและความชื้นในดินด้วยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ความว่า "หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด" และให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นในพื้นที่ดำเนินการประมาณ 8,700 ไร่ ให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้านป่าไม้เอนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสมควบคู่กับการอนุรักษ์และปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ โดยเน้นการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินงานในรูปแบบ "ป่าไม้หมู่บ้าน" คือให้ราษฎรดำเนินการเองเป็นเจ้าของเอง ปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้เอง ระยะแรกให้หน่วยงานราชการเข้าไปสาธิตและแนะนำให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้า ซึ่งได้เพาะกล้าไม้ ทั้งไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ พร้อมทั้งได้ศึกษา

นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังมีการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพในด้านต่างๆ เช่น เกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพป่าไม้และป่าไม้เศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทราย ซึ่งเป็นสัตว์พื้นเพดั้งเดิมและนำไปปล่อยให้ใช้ชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติดังเช่นอดีตที่ผ่านมา

ข้อ 1 โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน

ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แห่งแรก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 อีกทั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture) แห่งหนึ่ง มีพื้นที่ดำเนินการจำนวน 1,895 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ฯ จำนวน 1,240 ไร่ และพื้นที่โครงการส่วนพระองค์เขาหินซ้อนฯ จำนวน 655 ไร่ ดำเนินการพัฒนาทางด้านการเกษตรอย่างสมบูรณ์แบบ โดยเน้นการปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่แห่งนี้มีการตัดไม้ แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ทำให้ดินจืด และเสื่อมคุณภาพจนกลายเป็นดินทราย ในฤดูแล้วจะมีการชะล้าง เนื่องจากลมพัด (Wind erosion) ในฤดูฝนจะมีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ (Water erosion) ทำให้หน้าดินถูกทำลายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการฟื้นฟูสภาพของดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิชาการในหลายๆ ด้าน ประกอบกันเป็นการดำเนินการแก้ไขในลักษณะผสมผสานของหลายๆ หน่วยงานแบบบูรณาการ โดยดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม การป้องกันศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกไม้ผล การฟื้นฟูสภาพป่า การบำรุงพันธุ์ไม้เดิม ไม้มีค่าหายาก และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การจัดทำสวนสมุนไพร การรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าหายากในภาคตะวันออก การสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การสาธิตการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงาม ซึ่งราษฎรสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม นอกเหนือจากการทำการเกษตร รวมทั้งแนะนำส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้แก่เกษตรกร การให้บริการสีข้าว ฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย อันจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงสมบูรณ์ต่อไป