ขประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง
แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง
การป้องกันไฟป่าแบบ "ระบบป่าเปียก" ต่อมาได้มีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อการปรับบำรุงดิน เพราะหญ้าแฝกเปรียบเสมือน กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าสามารถดักตะกอนดินทำให้เกิดหน้าดินและความชื้นในดินด้วยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ความว่า "หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด" และให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นในพื้นที่ดำเนินการประมาณ 8,700 ไร่ ให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้านป่าไม้เอนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสมควบคู่กับการอนุรักษ์และปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ โดยเน้นการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินงานในรูปแบบ "ป่าไม้หมู่บ้าน" คือให้ราษฎรดำเนินการเองเป็นเจ้าของเอง ปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้เอง ระยะแรกให้หน่วยงานราชการเข้าไปสาธิตและแนะนำให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้า ซึ่งได้เพาะกล้าไม้ ทั้งไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ พร้อมทั้งได้ศึกษา
นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังมีการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพในด้านต่างๆ เช่น เกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพป่าไม้และป่าไม้เศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทราย ซึ่งเป็นสัตว์พื้นเพดั้งเดิมและนำไปปล่อยให้ใช้ชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น